700-101 |
แคลคูลัส 1 |
3(3-0-6) |
(Calculus I) |
อุปนัยเชิงคณิตศาสตร์ ซุพพรีมัม และอินพรีมัน ระบบจำนวนเชิงซ้อน ลิมิต ความต่อเนื่อง การหาอนุพันธ์ การอินทิเกรต และการประยุกต์ทางเรขาคณิต การแนะนำให้รู้ จักเกี่ยวกับอินทิกรัลไม่ตรงแบบ เรขาคณิตวิเคราะห์เกี่ยวกับเส้นตรง และภาคตัดกรวย การแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับการเคลื่อนที่แบบยูคลิค พิกัดเชิงขั้ว |
700-102 |
แคลคูลัส 2 |
3(3-0-6) |
(Calculus 2) |
รายวิชาบังคับก่อน : 700-101
การประยุกต์ของอนุพันธ์ รูปแบบยังไม่กำหนด เทคนิคของการอินทิเกรต ลำดับแลอนุกรมของจำนวนจริง อนุพันธ์ย่อย สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง พีชคณิตเวกเตอร์ การแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับเมตริกและตัวกำหนดเส้นตรง ระนาบ และพื้นผิว แคลคูลัสของฟังก์ชันหลายตัวแปร
|
700-103 |
ฟิสิกส์ 1 |
3(3-0-6) |
(Physics I) |
กลศาสตร์ของอนุภาคและวัตถุเกร็ง สมบัติของสาร กลศาสตร์ของไหล ความร้อน |
700-104 |
ปฎิบัติการฟิสิกส์ 1 |
1(0-3-0) |
(Physics
Laboratory I) |
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ :
700-103
เป็นการปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ 1 (700-103) |
700-105 |
ฟิสิกส์ 2 |
3(3-0-6) |
(Physics II) |
รายวิชาบังคับก่อน :
700-103,700-104
วงจรกระแสไฟฟ้าสลับ อิเล็กทรอนิกส์พื้นฐาน แสง และฟิสิกส์ยุคใหม่ |
700-106 |
ปฎิบัติการฟิสิกส์ 2 |
1(0-3-0)) |
(Physics Laboratory II) |
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ :
700-105
การปฎิบัติการที่เกี่ยวข้องกับวิชาฟิสิกส์ 2 (700-105) |
700-107 |
เคมี |
3(3-0-6) |
(Chemistry) |
มวลสารสัมพันธ์ สมบัติของก๊าซ ของเหลวของแข็ง และสารละลายอุณหพลศาสตร์เคมี สมดุลเคมี กรด-เบส ปฎิกิริยาออกซิเดชั่น จลนศาสตร์ โครงสร้างอะตอม พันธเคมี ตารางธาตุและอินทรีย์เคมีเบื้องต้น |
700-108 |
ปฎิบัติการเคมี |
1(0-3-0) |
(Chemistry Laboratory) |
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ :
700-107
เทคนิคการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ โครงสร้างของโลหะ และผลึก สมดุลเคมี อินดิเค เตอร์ การไทเทรต กรด-เบส พีเอสของสารละลาย และการเกิดปฎิกิริยาไฮโดรลิซิส |
710-101 |
ปฎิบัติการฝึกฝีมือช่าง |
2(1-3-3) |
(Workshop) |
ศึกษาการทำงานตลอดจนวิธีใช้เครื่องมือช่างต่าง ๆ โดยเน้นถึงความถูกต้องทักษะ ความเหมาะสมและความปลอดภัยของการใช้เครื่องมือ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับ เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดขนาด |
710-102 |
วิชาชีพวิศวกรรมและจรรยาบรรณ |
2(2-0-4) |
(Engineering Profession and Ethics) |
วิชาชีพวิศวกรรมสาขาต่าง ๆ เครื่องมือทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สำหรับการแก้ ปัญหาทางวิศวกรรม การทดลองและการทดสอบ สื่อในงานวิศวกรรม ความรับผิดชอบของวิศวกรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กฎหมายวิศวกรรมและจรรยาบรรณของวิศวกร |
710-103 |
การเขียนแบบวิศวกรรม |
2(1-3-3) |
(Engineering Drawing |
การเขียนตัวอักษร ภาพฉายออโธกราฟฟิกส์ วิวช่วย ความยาวจริง มุมและทิศทางของ
เส้นตรง ขนาดจริงของระนาบ การเขียนภาพออโธกราฟฟิกส์ มิติและบันทึก
ประกอบ ภาพตัดและสัญนิยม การเขียนและสเก็ตภาพสามมิติ การเขียนรูปประกอบ |
710-104 |
กราฟฟิกวิศวกรรม |
2(1-3-3) |
(Engineering Graphics) |
รายวิชาบังคับก่อน :
710-103
เส้นตรงและระนาบ การหมุน รอยตัด การคลี่ การเขียนภาพออโธกราฟฟิกส์ แบบ มุมที่หนึ่งและมุมที่สาม มิติและบันทึกประกอบ การอ่านภาพฉายออโธกราฟฟืกส์ ภาพตัดและสัญนิยม การเขียนแบบใช้งาน |
710-106 |
วัสดุวิศวกรรม |
3(3-0-6) |
(Engineering Materials) |
รายวิชาบังคับก่อน :
700-103
หลักการขั้นมูลฐานของวัสดุศาสตร์ เน้นในด้านความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและ คุณสมบัติของวัสดุประเภทโลหะเซรามิค และโพลิเมอร์ กล่าวถึงความไม่สมบูรณ์ของ ผลึกกรรมวิธีการแปรรูป การแตกหัก ความสมบูรณ์ของวัฏภาคและวิธีการควบคุมโครง สร้างจุลภาค รวมทั้งการเสื่อมสภาพของวัสดุ |
710-108 |
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น |
3(2-3-4) |
(Introduction to Computer) |
มโนทัศน์ทางคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์ การทำงานร่วมกันระหว่างฮาร์ตแวร์และซอฟต์แวร์ มโนทัศน์ทางการประมวลผลข้อมูลแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเลขฐานและรหัสที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ภาษาเครื่องและภาษาระดับสูง ระบบปฎิบัติการพื้นฐาน การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ บนไมโครคอมพิวเตอร์ |
710-200 |
กลศาสตร์วิศวกรรม |
3(3-0-6) |
(Engineering Mechanics) |
ระบบแรง แรงลัพธ์ สมดุล สถิติศาสตร์ของไหล จลนศาสตร์ของอนุภาค กฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน ความเสียดทาน งานและพลังงานอิมพัลส์และโมเมนตัน การกระทบ จลนศาสตร์ของวัตถุเกร็ง สมการเคลื่อนที่ งานและพลังงานอิมพัลส์และโมเมนตัม ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลศาสตร์ของวัตถุเกร็งในสามมิติ |
710-203 |
คณิตศาสตร์วิศวกรรม |
3(3-0-6) |
(Engineering Mathematics) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
700-102
สมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับหนึ่งและอันดับสูงกว่าหนึ่ง ผลเฉลยแบบอนุกรมของ สมการเชิงอนุพันธ์สามัญ สมการผลต่างสืบเนื่อง อนุกรมฟูริเยร์ การกระจายจากครึ่ง คาบ อินทิกรัลฟูริเยร์ การแปลงฟูริเยร์ การแปลงลาปลาช การกระจายเฮวีไซด์ การแปลงฟังก์ชั่นเป็นคาบ การแปลง Z สมการเชิงอนุพันธ์ย่อย ปัญหาค่าขอบเขต |
710-301 |
ความน่าจะเป็นและสถิติวิศวกรรม |
3(3-0-6) |
(Probability and Engineering Statistics) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
700-102
ขอบเขตและประโยชน์ของสถิติทางด้านวิศวกรรม หลักการเบื้องต้นของทฤษฎีความ น่าจะเป็น ตัวแปรสุ่มและการแจกแจงความน่าจะเป็นบางชนิด การอนุมานเชิงสถิต เบื้องต้น การวิเคราะห์ความแปรปรวนเบื้องต้น ความถดถอย และสหสัมพันธ์ การควบคุมคุณภาพทางสถิติ |
720-201 |
คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า |
3(3-0-6) |
(Electrical Engineering Mathermatics) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
700-102
ปริภูมิเวกเตอร์และปริภูมิย่อย มูลฐานและมิติ การส่งเชิงเส้น ตัวดำเนินการเชิงเส้นสมมูลของเมตริกซ์ ระบบสมการเชิงเส้น การแปลงแบบคล้าย ฟังก์ชันของตัวแปร เชิงซ้อน ทฤษฎีบทและสูตรอินทริกรัลของโคซี ทฤษฎีบทเรซิดิว การส่งคงรูป ผลต่าง สืบเนื่อง การประมาณค่าในช่วง การหาอนุพันธ์และการอินทิเกรตเชิงตัวเลข การประยุกต์ในวิศวกรรมไฟฟ้า |
720-202 |
ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า |
3(3-0-6) |
(Electric Circuit Theory) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน
:700-102
องค์ประกอบของวงจร กฎของเคอร์ซอฟฟ์และทิศทางอ้างอิง แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยว กับกราฟของข่ายวงจร วงจรแบบตัวต้านทาน การวิเคราะห์แบบปมและเมซ ทฤษฎีของเทวินินและนอร์ตัน วงจรอันดับหนึ่งและวงจรอันดับสอง ผลตอบต่อสัญญาณขั้นบันได ผลตอบสัญญาณเข้าศูนย์และผลตอบสถานะเริ่มต้นศูนย์ ผลตอบชั่วครู่และผลตอบสถานะอยู่ตัว สัญญาณกระตุ้นแบบเอกซ์โพเนนเชียล ทรานสเฟอร์ฟังก์ชั่นเบื้องต้น คลื่นรายคาบ อนุกรมฟูริเยร์ สัญญาณแบบไซน์และการแทนด้วยเฟสเซอร์ อิมพีแดนซ์ และแอตมิตแตนซ์ การวิเคราะห์ในสถานะอยู่ตัวต่อสัญญาณแบบไซน์ ผลตอบเชิง ความถี่ วงจรสามเฟส |
720-203 |
ปฎิบัติการวงจรไฟฟ้า |
1(0-3-0) |
(Electric Circuit Laboratory) |
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ :
720-202
การฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้าและการวัดทางไฟฟ้า เพื่อเสริมความรู้ทางทฤษฎี ของหัวข้อต่าง ๆ ในรายวิชา 720-202 |
720-204 |
การวิเคราะห์วงจรไฟฟ้า |
3(3-0-6) |
(Electric Circuit Analysis) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
710-203,720-202
ผลตอบสำหรับอินพุตใด ๆ ผลตอบอิมพัลล์ วิธีคอนโวลูชัน การแปลงแบบลาปลาซและ
การประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับกราฟของข่ายวงจร สมการวงจรในลักษณะเมตริกซ์
สมการปมและเมซ สมการลูปและคัตเซต สมการสถานะ ความถี่ธรรมชาติ ฟังก์ชั่น
วงจรข่าย วงจรสองคู่ขั้ว |
720-206 |
วงจรดิจิตอลและลอจิก |
3(3-0-6) |
(Digital Circuits and Logics) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
700-102 และ 730-221
ระบบเชิงเลขเบื้องต้น พีชคณิตบูลิน ระบบเลขไบนารี คุณสมบัติของวงจรเกตเชิงเลข โครงสร้างพื้นฐานของเกตเชิงเลข เช่น DTC,TTL,ECL,NMOS และ CMOS การสังเคราะห์วงจรจัดหมู่ เช่น วงจรบวก ALU วงจรมัลติเพลกเชอร์ วงจรใส่รหัส วงจรถอดรหัส PLA และ ROM วงจรเชิงเลขแบบลำดับ เช่น แลตซ์ พลิป-พลอป วงจรพับและวงจรทะเบียน ระบบลำดับสถานะจำกัด หน่วยความจำ ไมโครโพซเซสเซอร์ เบื้องต้น ตัวแปลงผัน A/D และ D/A |
720-207 |
ปฎิบัติการวงจรดิจิตอลและลอจิก |
1(0-3-0) |
(Digital Circuits and Logic Laboratory) |
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ :
720-206
การฝึกปฎิบัติการเกี่ยวกับวงจรดิจิตอลและลอจิก เพื่อเสริมความรู้ ความเข้าใจในหัวข้อ ต่างๆ ในรายวิชา 720-206
|
720-208 |
สิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ |
3(3-0-6) |
(Electronic Devices) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
700-105
อะตอมและอิเล็กตรอน แถบพลังงานและพาหะประจุในสารกึ่งตัวนำ พาหะส่วนเกิน ในสารกึ่งตัวนำ หัวต่อไดโอหัวต่อพี-เอ็น ทรานซิลเตอร์ไบโพลาร์ ทรานซิสเตอร์ สนามไฟฟ้า วงจรไอซี เลเซอร์ สิ่งประดิษฐ์สำหรับการสวิตซ์ สิ่งประดิษฐ์ไมโครเวฟ |
720-209 |
ปฎิบัติการสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ |
1(0-3-0) |
(Electronic Devices Laboratory) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
720-203
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ : 720-208
การฝึกปฎิบัติการเกี่ยวกับสิ่งประดิษฐ์ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเสริมความรู้ทางทฤษฎีของ หัวข้อต่าง ๆ ในรายวิชา 720-208 |
720-308 |
วงจรอิเล็กทรอนิกส์ |
3(3-0-6) |
(Electronic Circuits) |
รายวิชาที่ต้องสอบผ่าน :
720-208
ลักษณะสมบัติกระแส-แรงดันของสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ วงจรอิเล็กทรอนิกส์แบบ ง่าย การไบอัสทรานซิสเตอร์ วงจรขยายสัญญาณขนาดเล็กใช้ทรานซิสเตอร์ การวิเคราะห์วงจรขยายแบบป้อนกลับ ผลตอบเชิงความถี่ของวงจรขยายพื้นฐานและวงจรขยายแบบป้อนกลับ
ออปแอมป์และการประยุกต์ในวงจรเชิงเส้นและไม่เชิงเส้นวงจร กำเนิดความถี่ วงจรขยายกำลัง แหล่งจ่ายกำลัง อิเล็กทรอนิกส์กำลังเบื้องต้น |
720-309 |
ปฎิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ |
1(0-3-0) |
(Electronic Circuit Laboratory) |
รายวิชาที่ต้องเรียนควบ :
720-308
การฝึกปฎิบัติการเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเสริมความรู้ทางทฤษฎีของหัวข้อต่าง ๆ ในรายวิชา 720-308 |
730-211 |
หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ |
3(2-3-4) |
(Principle of Computer Programming) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
710-108
การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งานทางวิศวกรรม เช่น ภาษาปาสคาล หรือภาษาซี การเขียนโปรแกรมแบบโครงสร้าง การเขียนผังงาน การ สร้างฟังก์ชั่น และโปรแกรมย่อย การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ด้านการคำนวณเชิงตัวเลข การออกแบบโปรแกรมการแก้ไขความผิดพลาดและการทดสอบโปรแกรม การฝึกปฎิบัติการโปรแกรมด้วยเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ และแก้ปัญหาทางวิศวกรรม |
730-212 |
โครงสร้างแบบไม่ต่อเนื่อง |
3(3-0-6) |
(Discrete Structures) |
เซตและลำดับ ทฤษฎีการนับ ความสัมพันธ์และฟังก์ชั่น ตรรกศาสตร์ พีชคณิตบูลีน การเปรียบเทียบคณิตบูลีนกับวงจรไฟฟ้า การออกแบบวงจรโดยใช้พีชคณิตบูลีน ทฤษฎีกราฟและต้นไม้ ภาษาโปรแกรมและการนำเสนอภาษาในรูปกราฟหรือวิธีอื่น ๆ เครื่องจักรสถานะจำกัดและความสัมพันธ์กับไวยากรณ์ภาษา |
730-213 |
โครงสร้างข้อมูลและขั้นตอนวิธี |
3(3-0-6) |
(Data Structures and Algorithms) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-211
โครงสร้างข้อมูลแบบต่าง ๆ ได้แก่ สแตค คิว ลิสท์ ทรี กราฟ และโปรแกรมเวียนเกิด การจัดสรรเวลาและเนื้อที่ การประยุกต์และวิเคราะห์โครงสร้างข้อมูล การวิเคราะห์ ความซับซ้อนของขั้นตอนวิธี และการออกแบบขั้นตอนวิธีแบบต่าง ๆ สำหรับการ เรียง ลำดับ การค้นหาข้อมูล กราฟ การเทียบสายอักขระโพลิโนเมียลและเมตริกซ์ ปัญหาแบบเอ็นพีเบื้องต้น
|
730-214 |
ทฤษฎีการคำนวณ |
3(3-0-6) |
(Theory of Computation) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-212
เครื่องจักรสถานะจำกัดเชิงกำหนดและเชิงไม่กำหนด ภาษาและนิพจน์เรกูลาร์ ออโตมาตาแบบกดลง และภาษาไม่พึ่งบริบท เครื่องจักรทัวริ่ง ทฤษฎีการเรียนซ้ำ การ คำนวณได้และการคำนวณไม่ได้ |
730-221 |
โครงสร้างคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Computer Organization) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-211
ศึกษาสถาปัตยกรรมในระดับรีจิสเตอร์ของตัวประมวลผลที่ทันสมัยตัวหนึ่ง พร้อมกับการฝึกเขียนชุดคำสั่งภาษาแอสเซมบลีของตัวประมวลผลนั้น รายละเอียดที่ศึกษาได้แก่ ระบบตัวเลขที่แทนข้อมูล โครงสร้างระบบและภาษาเครื่อง หน่วยประมวลผลและหน่วยความจำ อุปกรณ์ไอ/โอบัส (I/O Bus) พื้นฐานของระบบปฏิบัติการ เช่น การจัดจังหวะประสาน มัลติโปรแกรมมิง เทคนิค หน่วยความจำเสมือน เป็นต้น |
730-321 |
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Computer Architecture) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-221
โครงสร้างพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ รูปแบบคำสั่ง และการออกแบบชุดคำสั่ง หลัก การทำงานและการออกแบบส่วนประกอบต่างๆของคอมพิวเตอร์ หน่วยประมวลผล กลาง หน่วยควบคุมการทำงาน หน่วยความจำหลัก หน่วยความจำสำรอง อุปกรณ์ อินพุตเอาท์พุต การติดต่อสื่อสารข้อมูลของคอมพิวเตอร์ แนะนำสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์แบบขนาน
และแบบลดขนาดจำนวนคำสั่ง |
730-322 |
ไมโครโปรเซสเซอร์ |
3(3-0-6) |
(Microprocessor) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-321
เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมของไมโครโปรเซสเซอร์ ลักษณะและชนิดของ ไมโครโปรเซสเซอร์ ความสัมพันธ์ระหว่างการออกแบบไมโครโปรเซสเซอร์กับตัว แปลภาษา เทคนิคการเชื่อมต่อไมโครโปรเซสเซอร์ ระบบบัสมาตรฐาน และบัส ความเร็วสูง การออกแบบหน่วยความจำอินพุต เอาท์พุต และอุปกรณ์ประกอบ การออกแบบระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานควบคุมและงานประมวลผลทั่วไป |
730-323 |
ปฎิบัติการระบบคอมพิวเตอร์ |
1(0-3-0) |
(Computer System Laboratory) |
รายวิชาที่ต่องเรียนก่อน :
730-321
ปฎิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนวิชา 730-321 และ 730-322 |
730-331 |
การโปรแกรมระบบ |
3(3-0-6) |
(System Programming) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-213
ลักษณะทั่วไปของการโปรแกรมระบบ โครงสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ภาษาเครื่องและ ภาษาแอสเซมบลี การออกแบบแอสเซมเบลอร์ มาโครโปรเซสเซอร์ หลักการทำงาน และการออกแบบโปรแกรมเชื่อมต่อและโหลดเดอร์ โครงสร้างตัวแปรภาษา อินเตอร์ พรีทเตอร์ และคอมไพเลอร์ หลักพื้นฐานของระบบดำเนินงานคอมพิวเตอร์ |
730-341 |
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ |
3(2-3-0) |
(Software Engineering) |
ความหมายของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ คาบชีวิตของซอฟต์แวร์ การบริหารซอฟต์แวร์ การลดความเสี่ยง การบริหารบุคคลและทรัพยากร การวิเคราะห์ความต้องการ ซอฟต์แวร์ การออกข้อกำหนดซอฟต์แวร์ การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน การ ออกแบบซอฟต์แวร์ การสร้างโปรแกรม การทดสอบโปรแกรม การบำรุงรักษา โปรแกรม การเขียนเอกสารประกอบการสร้างซอฟต์แวร์ เครื่องมือและกรรมวิธีที่ใช้ สนับสนุนขั้นตอนการทำงานต่าง ๆ การฝึกปฎิบัติสร้างโครงงานเป็นทีมและรายบุคคล |
730-351 |
การออกแบบระบบฐานข้อมูล |
3(3-0-6) |
(Database System Design) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-213
รูปแบบของข้อมูล ระบบฐานข้อมูลแบบลำดับชั้น แบบข่ายงานและแบบเชิงสัมพันธ์ โครงสร้างฐานข้อมูลเชิงตรรก เอ็นทิตี้และความสัมพันธ์ การปรับบรรทัดฐานของ ข้อมูล ภาษาจัดการฐานข้อมูลเพื่อการกำหนดและสอบถาม การรักษาความปลอดภัย ของข้อมูล การเก็บสำรองข้อมูล การรักษาความถูกต้อง ความเชื่อถือได้ และความ คงสภาพของข้อมูล ระบบฐานข้อมูลแบบกระจาย |
730-371 |
การสื่อสารและข่ายงานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น |
3(3-0-6) |
(Introduction to Communications and Networks) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-321
การสื่อสารข้อมูลแบบดิจิตอล เทคนิคมอดูเลชั่นและดีมอดูเลชั่น โครงสร้างและการจัด องค์องค์ประกอบระบบการสื่อสารข้อมูล การโต้ตอบสัญญาณและโปรโตคอล การควบคุมและออกแบบระบบสื่อสารข้อมูล โครงสร้างและเทคโนโลยีของข่ายงาน คอมพิวเตอร์ระยะใกล้และระยะไกล |
730-411 |
การคำนวณเชิงสัญลักษณ์ |
3(3-0-6) |
(Symbolic Computation) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-214
แนะนำตรรกเชิงสัญลักษณ์ยุคใหม่ การวิเคราะห์เชิงความหมายของประโยคและเทอม การเรียงลำดับและการพิสูจน์ การคำนวณเชิงฟังก์ชั่นด้วยภาษา LISP การคำนวณเชิง ตรรกด้วยภาษาโปรล็อก การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา LISP และโปรล็อก |
730-421 |
การควบคุมการสวิตซ์และการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Switching Control and Computer Interfacing) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-322
การวิเคราะห์และออกแบบระบบควบคุมที่ใช้อุปกรณ์การสวิตช์อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และไมโครโปรเซสเซอร์ การประยุกต์งานควบคุมด้านต่าง ๆ และการนำคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้ากับระบบควบคุม |
730-422 |
สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ชั้นสูง |
3(3-0-6) |
(Advanced Computer Architecture) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-321
พื้นฐานการออกแบบคอมพิวเตอร์ การออกแบบชุดคำสั่ง และตัวประมวลผล การทำงานแบบขนาน สถาปัตยกรรมแบบ SISD, SIMD, MISD และ MIMD เครื่องคอมพิวเตอร์ แบบลดจำนวนคำสั่ง แบบขนานและแบบทนความผิดพร่อง ระบบประมวลผลพหุภาค ข่ายงานเชื่อมสัมพันธ์ |
730-431 |
ระบบดำเนินงานคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Computer Operating Systems) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-331
โปรแกรมดำเนินงานคอมพิวเตอร์เบื้องต้น กระบวนการและภาวะพร้อมกัน การจัด
การกระบวนและการกำหนดลำดับชิ้นงาน การจัดการอินพุตเอาท์พุต การจัดการ หน่วยความจำ ระบบแฟ้ม ความปลอดภัยของระบบคอมพิวเตอร์ ระบบดำเนินงาน คอมพิวเตอร์แบบกระจาย การประเมินขีดความสามารถของระบบดำเนินงาน คอมพิวเตอร์ |
730-432 |
ภาษาโปรแกรมและตัวแปลภาษา |
3(3-0-6) |
(Programming Languages and Compilers) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-331
ศึกษาและเปรียบเทียบภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เชิงวากยสัมพันธ์และความหมาย ลักษณะเฉพาะ และประเภทของภาษาคอมพิวเตอร์แบบกำหนดกระบวนการและแบบ ไม่กำหนดกระบวนการ แบบเชิงฟังก์ชั่น และแบบเชิงตรรก ขั้นตอนการสร้าง โปรแกรมแปลภาษา การตรวจกวาด การวิเคราะห์ทางวายกสัมพันธ์และความหมาย ของการสร้างรหัสเครื่อง การปรับรหัสให้ดีที่สุดและการแก้ไขข้อผิดพลาด |
730-441 |
การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ |
3(3-0-6) |
(Computer
Human Interface) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-213
การออกแบบและสร้างระบบติดต่อระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมด้าน ฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ของสถานีงานส่วนบุคคล ระบบการโปรแกรมเชิง วัตถุวิสัย รูปแบบของการโต้ตอบ และการจัดการส่วนแสดงผล และช่องหน้าต่าง |
730-451 |
ฐานข้อมูลและการสืบค้นหาสารสนเทศ |
3(3-0-6) |
(Database and Information Retrieval) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-351
ลักษณะทั่วไปของระบบสารสนเทศ เทคนิคการเก็บข้อมูล การบริการข้อมูลและการ ค้นหาข้อมูล การจัดระบบแฟ้มข้อมูล การเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ หลักการของระบบ ฐานข้อมูลและการจัดการฐานข้อมูล ฐานข้อมูลแบบลำดับขั้น แบบข่ายงานและแบบ เชิงสัมพันธ์ การประยุกต์ใช้งาน |
730-461 |
ปัญญาประดิษฐ์ |
3(3-0-6) |
(Artificial Intelligence) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-311
ขอบเขตและที่มาของปัญญาประดิษฐ์ การแทนความรอบรู้ โครงสร้างความจำ การ
หาเหตุผล การหาเหตุผลแบบน่าจะเป็น เทคนิคการค้นหา เกมส์การวางแผน การ
เรียนรู้ การประมวลผลภาษาธรรมชาติ การมองเห็น และระบบผู้เชี่ยวชาญ |
730-462 |
ระบบผู้เชี่ยวชาญเบื้องต้น |
3(3-0-6) |
(Introduction to Expert Systems) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-461
เทคนิคการแทนความรอบรู้แบบกรอบ กฎเกณฑ์ และข่ายความหมาย การค้นหาฐาน
ความรู้ การอ้างเหตุผลด้วยวิธีเดินหน้าและถอยหลัง ตัวอย่างระบบผู้ชำนาญการและ
ขั้น ตอนการสร้างระบบผู้ชำนาญการ การเชื่อมโยงกับระบบความเข้าใจภาษา
ธรรมชาติ |
730-471 |
ปฎิบัติการสื่อสารและข่ายงานคอมพิวเตอร์ |
1(0-3-0) |
(Computer Communications and Networks Laboratory) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-371
ปฎิบัติการเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนในวิชา 730-371 |
730-472 |
ข่ายงานคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Computer Networks) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-371
การมองรูปแบบข่ายงานคอมพิวเตอร์แบบแบ่งชั้น ต้นแบบข่ายงาน ระบบแบบเปิด ตามมาตรฐาน OSI พิธีการในการติดต่อ การเชื่อมโยงระหว่างชั้น เครือข่าย คอมพิวเตอร์ ระดับท้องถิ่น ตัวอย่างมาตรฐานชั้นการเชื่อมต่อข้อมูล 802.X การกำหนดทางเดิน ข้อมูล การออกแบบชั้น การขนถ่ายข้อมูล ตัวอย่าง มาตรฐานในการขนถ่ายข้อมูล TCP/IP และ X.25 |
730-481 |
คอมพิวเตอร์กราฟฟิกขั้นพื้นฐาน |
3(3-0-6) |
(Foundation of Computer Graphics) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-213
ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการสร้างภาพคอมพิวเตอร์กราฟฟิก โครงสร้างข้อมูล สำหรับการ แสดงผลกราฟฟิก การแปลงรูปสองมิติและสามมิติ เทคนิคการใช้เมตริกซ์ช่วยในการ แปลง มุมมองในสามมิติ การตัดขอบภาพล้น การตอบโต้กับผู้ใช้โปรแกรมระบบช่องหน้าต่าง |
730-482 |
การวิจัยดำเนินงานสำหรับวิศวกร |
3(3-0-6) |
(Operations Research for Engineers) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730-211 และ 730-311
เทคนิคการวิจัยดำเนินงานแบบดีเทอร์มินิสติก กำหนดการเชิงเส้น กำหนดการแบบไดนามิกส์ กำหนดการเชิงเลขจำนวนเต็ม กำหนดการแบบไม่เชิงเส้น ทฤษฎีแถวคอย การจำลองสถานการณ์ ทฤษฎีการตัดสินใจ |
730-483 |
ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
3(3-0-6) |
(Geographical Information Systems) |
รายวิชาที่ต้องเรียนก่อน :
730 -351
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โครงสร้างข้อมูลสำหรับระบบสาร สนเทศภูมิศาสตร์ จุด เส้น และแผนที่ ข้อมูลภูมิศาสตร์ในคอมพิวเตอร์ โครงสร้าง ข้อมูลแบบแรสเตอร์และแบบเวคเตอร์ แบบจำลองระดับสูงเชิงตัวเลข การสร้างแบบ จำลองทางแผนที่ การประมาณค่าทางพื้นที่ การเลือกระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ |
730-496 |
เรื่องเฉพาะทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Selected Topics in Computer Engineering) |
หัวข้อที่น่าสนใจทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
730-497 |
สัมมนา |
1(0-3-0) |
(Seminar) |
การบรรยายและอภิปรายเรื่องที่น่าสนใจทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
730-498 |
ปัญหาพิเศษทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
3(3-0-6) |
(Special Problems in Computer Engineering) |
การศึกษาค้นคว้าวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นปริญญาตรี และเรียบเรียงเขียนเป็นรายงาน |
730-499 |
โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |
3(0-6-6) |
(Computer Engineering Project) |
โครงงานที่น่าสนใจในแขนงต่าง ๆ ของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ |